บทความนี้จะขอมาแนะนำการใช้งานโปรแกรม Dreamweaver กับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP ครับ
ซึ่งตัวโปรแกรม Dreamweaver ที่คุณใช้นั้น ที่จริงมีความสามารถหลายอย่างที่จะช่วยให้ผู้ที่ใช้ภาษา PHP เขียนโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย จะเป็นอย่างไรลองติดตามอ่านกันดู
Adobe Dreamweaver เป็นโปรแกรมสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์
ไม่ใช่เฉพาะแต่งานออกแบบด้านความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ Dreamweaver มีความสามารถในแง่มุมของ Programming มากมายให้ผู้ใช้งานโปรแกรม Dreamweaver ใช้สอยได้อย่างสะดวก
สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ภาษา PHP ในการพัฒนางาน โปรแกรม Dreamweaver
สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานเขียนภาษา
PHP ได้มากมายในหลากหลายแง่มุม ซึ่ง DwThai.Com จะขอหยิบยกมาแนะนำแต่เพียงเฉพาะบางส่วนเท่านั้นในบทความนี้ ดังนี้
PHP กับ Insert Panel ของโปรแกรม Dreamweaver
ถ้าผู้ใช้งานโปรแกรมทำการ
New File แล้วเลือกประเภทไฟล์เป็น PHP จะพบว่าที่ Insert Panel จะมีกลุ่ม PHP ให้เลือกใช้
ซึ่งที่กลุ่ม PHP นี้จะมีคำสั่งต่างๆ ให้ผู้ใช้งานโปรแกรม Dreamweaver เลือกใช้ได้อย่างมากมาย ดังรูป
สำหรับการใช้งานไอคอนต่าง ๆ ที่กลุ่มของ PHP นี้สามารถใช้งานได้ ดังนี้
1. เลือกไอคอนคำสั่งตามต้องการ จากนั้นโปรแกรมจะทำการแทรกคำสั่ง PHP ที่เลือกไปยังไฟล์ PHP ของเราที่ Document ดังรูป
2. เมื่อเราได้คำสั่งของ PHP แล้ว ให้ทำการพิมพ์ข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการลงไปที่คำสั่งนั้น ๆ ดังรูป
จากรูป เป็นการพิมพ์ข้อความลงไปที่หลังคำสั่ง
echo
ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะพิมพ์ข้อมูลใดลงไปในคำสั่งที่ได้ Insert มานั้น ต้องเรียนรู้ภาษา PHP ประกอบ
หากเราไม่ถนัดที่จะพิมพ์โค้ดที่มุมมอง Code ของโปรแกรม เราสามารถพิมพ์ไปที่ Properties Panel ได้ ดังนี้
3. เมื่อได้เลือกคำสั่งจากกลุ่ม PHP ลงไปที่ไฟล์เพจแล้ว หากสังเกตที่มุมมอง Design ของโปรแกรม จะพบว่า มีไอคอน PHP แสดงขึ้นมา ดังรูป
4. ที่ไอคอนดังในข้อ 3 หากมีการคลิกเลือกไว้ จะสามารถพิมพ์คำสั่ง PHP เพิ่มเติมได้จาก Properties Panel ดังรูป
icons คำสั่งอื่น ๆ ก็มีหลักการในการใช้งานเช่นเดียวกับที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น.
PHP กับระบบ Code Hints ของ Dreamweaver
โปรแกรม Dreamweaver มีระบบที่เรียกว่า
Code Hints เพื่อช่วยให้เขียนภาษาโปรแกรมเป็นไปอย่างงง่ายดาย โดยที่ในมุมมอง Code เราสามารถกดปุ่ม
Ctrl + Space Bar เพื่อเรียกดูคำสั่งต่าง ๆ ของ PHP ที่เราต้องการกำลังจะพิมพ์ได้ ร่วมไปถึงชื่อตัวแปรต่าง ๆ ที่ไฟล์โปรแกรมเรารู้จักด้วย ดังนี้
5. ที่มุมมอง Code ของโปรแกรม ทำการพิมพ์โค้ดคำสั่งบางส่วนลงไป จากนั้นกด
Ctrl + Space Bar ที่คีย์บอร์ด จะปรากฎ Code Hints ดังรูป
จากรูป ทำการพิมพ์ตัวอักษร
d ลงไปแล้วกด Ctrl + Space Bar ที่คีย์บอร์ด เพื่อต้องการเลือกฟังก์ชั่น
date() ของ PHP ใช้งาน
6. จะสังเกตได้ว่าที่ Code Hints ที่ปรากฎนอกจากชื่อของคำสั่ง PHP แล้ว โปรแกรมยังแสดงรูปแบบการใช้งาน (Syntax) คำสั่งให้เราทราบด้วย
รวมถึง Document คู่มือการใช้งานคำสั่ง ดังรูป
7. เมื่อพบคำสั่งที่ต้องการทำการเลือกโดยการกดปุ่ม Enter หรืออาจจะใช้เมาท์ Double Click ไปที่คำสั่งที่ต้องการก็ได้เช่นเดียวกัน จะได้คำสั่งที่ต้องการใช้ ดังรูป
จากรูปจะพบว่าเมื่อเลือกคำสั่งแล้ว โปรแกรมจะยังมี Syntax ปรากฎเพื่อเป็นไกด์ในการพิมพ์ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่คำสั่งนั้น
8. ทำการพิมพ์ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งขึ้นอยู่กับคำสั่งหรือ Function ที่เราเลือกมา ดังรูป
จากรูปเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น
date() ของ PHP